วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556


อาณาจักรโปรติสตา (Kingdom Protista)

ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรโปรติสตา

     1. ร่างกายประกอบด้วยโครงสร้างง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน ส่วนมากประกอบด้วยเซลล์เดียว (unicellular) บางชนิดมีหลายเซลล์รวมกันเป็นกลุ่ม เรียกว่า โคโลนี (colony) หรือเป็นสายยาว (filament) แต่ยังไม่ทำหน้าที่ ร่วมกันเป็นเนื้อเยื่อ (tissue)หรืออวัยวะ (organ) แต่ละเซลล์สามารถทำหน้าที่ของความเป็นสิ่งมีชีวิตได้ครบถ้วนอย่าง อิสระ

     2. ไม่มีระยะตัวอ่อน (Embryo) ซึ่งต่างจากพืชและสัตว์ที่มีระยะตัวอ่อนก่อนที่จะเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัย

     3. การดำรงชีพ มีทั้งชนิดที่เป็นผู้ผลิต (Autotroph) เพราะมีคลอโรฟิลล์ เป็นผู้บริโภค (Consumer) และเป็นผู้ย่อยสลายอินทรียสาร (Decomposer)

     4. โครงสร้างของเซลล์เป็นแบบยูคาริโอติก (Eucaryotic) ซึ่งมีเยื่อหุ้มนิวเคลียส ได้แก่ โพรโทซัว เห็ด รา ยีสต์ ราเมือก สาหร่ายต่าง ๆ

     5. การเคลื่อนที่ บางชนิดเคลื่อนที่ได้โดยใช้ ซีเลีย (cilia) แฟลกเจลลัม (flagellum) หรือซูโดโปเดียม (Pseudopodium) บางชนิดเคลื่อนที่ไม่ได้

     6. การสืบพันธุ์ ทั้งแบบไม่อาศัยเพศ (Asexual reproduction) และแบบอาศัยเพศ (Sexual reproduction) แบบอาศัยเพศมีทั้งชนิดคอนจูเกชัน (Conjugation) ซึ่งเกิดจากเซลล์สืบพันธุ์ที่มีรูปร่างและขนาดเหมือนกัน มารวมกัน ดังเช่นที่พบในพารามีเซียม ราดำ เป็นต้น และชนิดปฏิสนธิ (fertilization) ซึ่งเกิดจากเซลล์สืบพันธุ์ ที่มีรูปร่างและขนาดต่างกันมารวมกัน ดังเช่นที่พบในสาหร่ายเป็นส่วนใหญ่ เป็นต้น

สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้แบ่งเป็น

1. Division Diplomonadida เป็นกลุ่มของโพรทิสต์ที่เป็นเซลล์ยูคารีโอตที่ยังไม่มี organelle คือ ไม่มี mitochondria , endoplasmic reticulum , golgi complex และ centriole เป็นต้น มักอยู่ในสภาวะที่ไม่มีออกซิเจน (Anaerobic environment) 

ลักษณะ

    - มีนิวเคลียส 2 อันขนาดเท่ากัน

    - มี Flagella หลายเส้น

ตัวอย่างเช่น Giardia intestinalis : เป็นปรสิตในลำไส้เล็กของคน


2. Division Parabasala เป็นกลุ่มของโพรทิสต์ที่เป็นเซลล์ยูคารีโอตที่ยังไม่มี organelle คือ ไม่มี mitochondria , endoplasmic reticulum , golgi complex และ centriole เป็นต้น มักอยู่ในสภาวะที่ไม่มีออกซิเจน (Anaerobic environment) 

ลักษณะ

    - มี Flagella หลายเส้น

    - มีเยื้อหุ้มลักษณะเป็นรอยหยักคล้ายคลื่น

ตัวอย่างเช่น    Trichomonas vaginalis : เป็นปรสิตในช่องคลอด

                     Trichonympha : อาศัยอยู่ในลำไส้ปลวกดำรงชีพแบบภาวะพึ่งพากัน


3. Division Kinetoplastida เป็นโพรทิสต์กลุ่มที่เคลื่อนที่โดยใช้ Flagella ซึ่งประกอบด้วย Microtubule เรียงกัยแบบ 9+2 มีทั้งที่เป็นผู้ผลิตผู้บริโภคและปรสิต
ลักษณะ
    - มี Mirochondria อันเดียวขนาดใหญ่ ภายในมี DNA เรียกว่า Kinetoplast
    - มีทั้งพวกที่ดำรงชีวิตอิสระ และเป็นปรสิต.
ตัวอย่างเช่น  Trypanosoma sp.
- เกิดโรคเหงาหลับ (sleeping sickness) ในแอฟริกามี African tsetse fly เป็นพาหะ
- โรค Chagas's disease ในอเมริกาใต้ มี Kissing bug เป็นพาหะ
 

4. Division Euglenophyta
ลักษณะ
    - มี Chlorplast สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ จึงดำรงชีพเป็นผู้ผลิตเมื่อมีแสง
    - เก็บอาหารที่สร้างได้ใน Paramylon granules
    - เมื่อไม่มีแสงก็ดำรงชีพเป็นผู้บริโภค
    - มีอายสปอต (eye spot) ในการตอบสนองต่อแสง
 
 

5. Division Dinoflagellata 
ลักษณะ
     - เป็น Phytoplakton ทั้งในน้ำจืดและน้ำทะเล
     - ส่วนใหญ่อยู่เป็นเซลล์เดียว มีบ้างที่อาศัยอยู่รวมกันเป็น colony
     - ลักษณะสำคัญคือ มีแผ่น Cellulose อยู่ภายใน ประกอบกันคล้ายเกราะ มีลวดลายสวยงามและมี Flagellum 2 เส้น
     - บางชนิดมีการสะสมสารพิษ ทำให้ทะเลมีสีแดง เกิดปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ (red tide) ซึ่งเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำเป็นจำนวนมาก
     - บางชนิดอาศัยร่วมกับปะการัง โดยนำ CO2 จากปะการังมาสังเคราะห์ด้วยแสง
 
6. Division Apicomplexa 
ลักษณะ
     - กลุ่มนี้ทุกชนิดเป็นปรสิตในสัตว์ มีโครงสร้างสำหรับแทงผ่ายเซลล์โฮสต์
     - ไม่มีโครงสร้างในการเคลื่อนที่ ยกเว้นในเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้
     - ตัวอย่างในกลุ่มนี้ ได้แก่ พลาสโมเดียม (Plasmodium) ทำให้เกิดโรคมาลาเรียในคนและสัตว์อื่น
     - malaria เป็นโรคเขตร้อน มียุงก้นปล้องเป็นพาหะ
เชื้อ Plasmodium ที่ก่อโรคในคนมี  4 ชนิด ได้แก่ 
     - Plasmodium falciparum
     - Plasmodium vivax
     - Plasmodium malariae
     - Plasmodium ovale 
ในประเทศไทยเชื้อที่พบส่วนใหญ่เป็นชนิด P.falciparum และ P.vivax  
 
7. Division Ciliophora 
ลักษณะ
     - มีขนาดใหญ่ เคลื่อนที่โดยใช้ Cilia
     - อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีน้ำหรือความชื้นสูง
     - ตัวอย่างเช่น Stentor , Paramecium , Vorticella
     - มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศเรียกว่า Conjugation
 

 
8.Division Oomycota 
ลักษณะ
    - เรียกว่า Egg fungus : water mold, white rust, downy mildews
     - แตกต่างจาก Stramenopila กลุ่มอื่นๆ ตรงที่ไม่มีรงควัตถุที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
     - มีลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ที่ประกอบด้วยหลายนิวเคลียส
     - ไม่ได้จัดเป็นรา
     - ส่วนใหญ่ดำรงชีวิตเป็นผู้ย่อยสลายในน้ำ
     - มีบ้างที่เป็นปรสิตในพืช เช่น white rust (ราขาวในมันฝรั่ง)
 
9.Division Bacillariophyta 
ลักษณะ
     - เป็นสาหร่ายที่มีสารสีชนิดเดียวกับที่พบในสาหร่ายสีน้ำตาล
     - เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว มีผนังเซลล์ประกอบด้วย Silica
     - ส่วนมากมักสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ
     - พบมากในแหล่งน้ำจืดและน้ำเค็ม เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ
     - ซากไดอะตอมที่ตายทับถมกันนาน ๆ เป็น diatomaceous earth เป็นแหล่งรวมของแร่ธาตุและน้ำมัน ซึ่งนำมาใช้ประโยชน์ในการทำไส้กรองและยาขัดต่าง ๆ

10. Division Phaeophyta 
ลักษณะ
    - เป็นสาหร่ายที่มีขนาดใหญ่ และมีโครงสร้างซับซ้อน
     - สาหร่ายสีน้ำตาล เรียกว่า Seaweed
     - เกือบทั้งหมดอาศัยอยู่ในทะเล มักอยู่ในกระแสน้ำเย็น
     - มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในน้ำโดยเป็นแหล่งอาหาร ที่อาศัยและใช้ในการหลบภัย
     - มีสารสีน้ำตาลเรียกว่า ฟิวโคแซนทิน 
     - เรียกโครงสร้างรวม ๆ ของสาหร่ายชนิดนี้ว่า Thallus
           - มีโครงสร้างคล้ายราก เรียกว่า Holdfast 
           - โครงสร้างคล้ายลำต้น เรียกว่า Stipe
           - โครงสร้างคล้ายใบ เรียกว่า Blade หรือ Lamina
ตัวอย่างเช่น    สาหร่ายเคลป์ ( Kelp) ซึ่งอาจมีความยาวถึง 60 เมตร 
                     สาหร่ายทุ่น ( sagassum sp.) 
                     ลามินาเรีย ( Laminaria sp.)
                     พาไดนา ( Padina sp.)
                     ฟิวกัส ( Fucus sp. )

11. Division Rhodophyta 

สาหร่ายสีแดง (red algae) มีสารสีไฟโคอีรีทิน (phycoerythrin) แคโรทีนและคลอโรฟิลล์ ต่างจากสาหร่ายกลุ่มอื่น บางชนิดไม่มีสารสี เป็นปรสิตกับสาหร่ายสีแดงชนิดอื่นๆ สามารถดูดกลืนแสงสีน้ำเงินและเขียวในการสังเคราะห์ด้วยแสงได้ดี ส่วนใหญ่จะมีหลายเซลล์ สามารถมีขนาดใหญ่เรียกว่า Seaweed ได้ในลักษณะเดียวกันกับสาหร่ายสีน้ำตาล และที่สำคัญคือ ไม่มีระยะที่มี
แฟลกเจลลา

ตัวอย่างเช่น    จีฉ่าย หรือ พอร์ไฟรา (Porphyra sp.) นำมาทำเป็นอาหาร

                   สาหร่ายผมนางหรือ กราซิลาเรีย (Gracilaria sp.) ใช้ผลิตวุ้น

 
 

12. Division Chlorophyta

สาหร่ายสีเขียว (green algae) มีลักษณะคล้ายพืชทั้งในแง่โครงสร้าง ผนังเซลล์และส่วนประกอบของสารสี คือ คลอโรฟิลล์ เอ บีและแคโรทีน ส่วนใหญ่พบในแหล่งน้ำจืด บางชนิดอยู่ร่วมกับราเป็น lichens เกือบทุกชนิดมีระยะอาศัยเพศ โดยเซลล์สืบพันธุ์ใช้ Flagella 2 เส้นในการเคลื่อนที่ สามารถปรับตัวในที่ไม่เหมาะสมได้ เช่น หิมะ (watermelon snow) และเชื่อว่าพืชมีวิวัฒนาการมาจากสาหร่ายสีเขียว

ลักษณะ

    - เซลล์เดียว  Chlamydomonas เช่น Chlorella (ป็นสาหร่ายสีเขียวเซลล์เดียวที่มีโปรตีนสูง นิยมผลิตเป็นอาหารเสริม)

    - อยู่รวมกันหลายเซลล์เป็น Colony เช่น Volvox

    - เซลล์รวมกันมีขนาดใหญ่ (Supercell) เช่น Caulerpa

    - โครงสร้างเป็น Cell weed เช่น Ulva

    - ไม่มี Flagellum ในการเคลื่อนที่ เช่น Spirogyra หรือ เทาน้ำ ( ใช้ Ameboid gamete)

 
 

13. Division Gymnamoeba

ลักษณะ

     - เป็นกลุ่มที่มีความหลากหลายมาก เช่น Amoeba

     - ส่วนมากเป็นผู้บริโภค

     - บางชนิดเป็นผู้ย่อยสลาย (Detritus)

 
 

14. Division Entamoeba

ลักษณะ

     - Entamoeba histolytica  เป็นปรสิต ก่อให้เกิดโรคบิดมีตัว ผลแทรกซ้อนก่อให้เกิดฝีในตับ

     - Entamoeba gingivalis    อาศัยแบบพึ่งพากับคนในช่องปาก เก็บเศษอาหารต่างๆ เป็นเหตุให้มีกลิ่นปาก

 
 

15. Division Myxogastrida

มี 2 ระยะ คือ

- ระยะ Plasmodium          

หากินโดยใช้ Pseudopodium ซึ่งมีขนาดใหญ่ได้มากเป็นเซนติเมตร เป็นหลายๆเซลล์รวมกันเป็น

เซลล์ขนาดใหญ่มากมีหลายนิวเคลียส กินอาหารโดยใช้กระบวนการ Phagocytosis

มักมีสารสีซึ่งมักเป็นสีส้มหรือสีเหลือง  

ระยะ Fruiting body           

ระยะที่มีการสืบพันธุ์โดยการแบ่งไมโอซิสเพื่อสร้างสปอร์ และมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์

 

16. Division Dictyostelida

 - ลักษณะแตกต่างจาก plasmodial slime molds คือ ระยะ จะเป็นเซลล์เดียวไม่ได้รวมกันเป็นเซลล์ขนาดใหญ่

 - ในวงชีพมีความแตกต่างกัน



 เพลง ช่วยจำอาณาจักรโปรติสตา



จัดทำโดย
1.นางสาวกฤษฏิยาภรณ์ รูปสมดี เลขที่ 1
2.นางสาวกุลธิดา อิสริยานุพงค์ เลขที่ 3
3.นางสาวณัฐชยา ฤทธิ์เลื่อน เลขที่ 7
4.นางสาวพิชญา เชนพูล เลขที่ 13
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 606

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น